มาทำความรู้จัก "อาการโคลิค" ในเด็กทารก

Last updated: 5 มี.ค. 2562  |  9569 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาทำความรู้จัก "อาการโคลิค" ในเด็กทารก

เด็กร้องไห้ เวลาเดิม ซ้ำๆ กัน ในช่วงเย็นของแต่ละวัน เพราะว่าเห็นผี จริงหรือเปล่าคะ? ความเชื่อนี้เป็นที่แพร่หลาย ขนาดเคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ กันเลย... แล้วมันจริงหรือเปล่าหนอ?

วันนี้พุงกลมชวน คุณพ่อ คุณแม่ มาทำความรู้จัก "อาการโคลิค" ในเด็กทารก มาเข้าใจถึงสาเหตุ และ วิธีการช่วยผ่อนคลาย ทารกเบื้องต้น กันค่ะ

 

อาการโคลิค เกิดขึ้นได้กับ ทารกสุขภาพดีทั่วไป ที่มี อายุ ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ ไปจนถึง 4 เดือน โดยทารกจะมีอาการ ร้องไห้ อารมณ์หงุดหงิด รุนแรง ต่อเนื่อง ยาวนาน โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน ในบางกรณีที่อาการรุนแรงมาก  ทารกจะร้องไห้ จนหน้าและตัวซีด อาจมีการเกร็งที่ ตัว ขา และ แขนได้ 

ส่วนใหญ่ ทารกที่มีอาการโคลิค จะร้องไห้ เป็นเวลาเดิมๆ ซ้ำๆ กันในช่วงเย็นของวัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเลิกงาน ของคุณพ่อ คุณแม่ ทำให้ เป็นปัญหาน่าปวดหัว และ บั่นทอนสุขภาพจิต ของทุกคนในบ้าน

 

แล้วอาการ โคลิค มีสาเหต จากอะไร

น่าเสียดาย ที่นักวิจัยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอน ของ อาการโคลิคในทารกได้ แต่พอจะบอก ปัจจัยที่อาจส่งผล ต่ออาการ โคลิค ได้ คือ

• ระบบการย่อยอาหารที่ยังไม่พัฒนาไม่เต็มที่
• การขาดสมดุล ของแบคทีเรียชนิดดีในทางเดิ นอาหาร
• การแพ้อาหาร

 

บอก ปัจจัยที่อาจส่งผล ต่ออาการ โคลิค ได้ (เพิ่มเติม)

• รูปแบบตั้งต้น ของ ไมเกรน ในวัยเด็ก
• ความเครียด หรือ ความกังวล ในครอบครัว
• การทานอาหาร มากไป น้อยไป หรือ การที่ทารก ไม่ได้เรอ หลังทานอาหาร

บางครั้งทารกจะอาการดีขึ้นถ้าได้ ระบายลม หรือ มีการขยับตัวของลำไส้ ลม ในท้องของทารกเกิดจาก การกลืนลมช่วงร้องไห้

นักวิจัยยังเชื่อว่า อาการโคลิค ไม่มีผล ต่อปัญหาสุขภาพ ทั้งต่อระยะสั้น และ ระยะยาว แต่ จะส่งผลต่อ ความเครียด ของ คุณพ่อ คุณแม่ และ อาจส่งผลเสียต่อ

• ความเครียดหลังคลอดของคุณแม่
• การเลิกให้นมแม่ก่อนเวลา
• อาการจิตกังวล เหนื่อยล้า รู้สึกผิด และ ความโกรธ

 

แนะนำวิธีช่วย ผ่อนคลาย เบื้องต้นสำหรับ ทารกที่มีอาการโคลิค

• ใช้จุกหลอก ที่ได้คุณภาพ
• พาทารกออกเดินเล่น นั่งรถเข็น หรือ ขับรถเล่น (อย่าลืมให้นั่ง คาร์ซีท นะคะ)
• ช่วยทารกให้ได้ เรอ หรือ ผายลม

แนะนำวิธีช่วย ผ่อนคลาย เบื้องต้นสำหรับ ทารกที่มีอาการโคลิค (ต่อ)

• ใช้ขวดนมป้องกันอาการโคลิค
• เดินอุ้ม และ ไกวตัว ทารกไปมา
• ห่อตัวทารกด้วยผ้าห่ม หรือ ผ้าห่อตัวเด็ก
• อาบน้ำอุ่นๆ เพื่อการผ่อนคลาย
• นวดท้องผ่อนคลายให้กับทารก หรือ จับพลิกคว่ำเพื่อนวดหลัง
• เปิดเพลงผ่อนคลาย เบาไฟในห้อง พยายามลดสิ่งกระตุ้น ต่อสายตาลูก

** แล้วเมื่อไหร่จึงควรพบ คุณหมอ?

อาการทารกร้องไห้อย่างรุนแร ง และไม่สามารถควบคุมได้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวบ่งชี้ขอ งอาการโคลิก เท่านั้น แต่เป็นการบอกถึงอาการป่วย อื่นๆ ได้ด้วย จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดค่ ะ

แปล และ เรียบเรียง โดย อ้างอิง จาก

https:// www.mayoclinic.org/
By Mayo Clinic Staff

https:// www.mayoclinic.org/ diseases-conditions/colic/ diagnosis-treatment/ drc-20371081

https:// www.mayoclinic.org/ diseases-conditions/colic/ symptoms-causes/ syc-20371074

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้