กำจัดน้ำมูกให้เจ้าตัวเล็ก

Last updated: 15 ธ.ค. 2566  |  162207 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กำจัดน้ำมูกให้เจ้าตัวเล็ก


อาการหวัดธรรมดาๆ เกิดได้บ่อยๆ กับเด็กวัยกำลังซน และที่เห็นมากเวลาเป็นหวัด ก็คือ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือแม้แต่เด็กๆ ที่เป็นภูมิแพ้ ก็มีน้ำมูกได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน การสังเกตุน้ำมูกของลูกอาจทำให้รู้ได้ว่าลูกป่วย หรือไม่ ถึงแม้จะไม่ใช่ทั้งหมด แต่น้ำมูก ก็เป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นอย่างหนึ่ง


ที่มาของน้ำมูก

น้ำมูก เป็นสารคัดหลั่งที่อยู่ในโพรงจมูก ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื่นภายในรูจมูก มีลักษณะใสๆ ถ้ามีการระคายเคืองภายในรูจมูกมาก จะมีการผลิตน้ำมูกออกมามาก และถ้าร่างกายได้รับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวจะออกมาแสดงตัวต่อสู้กับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวบางส่วนตาย สีของน้ำมูกก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เหลืองปนเขียว เขียวข้น จากจุดนี้เอง พ่อแม่หลายท่านใช้สังเกตอาการหวัดของลูก แต่การที่มีน้ำมูกไหล หรือสีของน้ำมูกเปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ 100% เพราะการตรวจสุขภาพคุณหมอก็ต้องทำการฟังปอด ตรวจโพรงจมูก ตรวจคอ ตรวจหู ด้วยอยู่แล้ว

น้ำมูกแบบไหน แปลว่า ไม่สบาย
ในขณะที่ร่างกายแข็งแรงปกติ ก็อาจมีน้ำมูกได้ โดยเฉพาะในช่วงเช้าๆ อาจจะมีน้ำมูกที่ค้างอยู่ในจมูกช่วงกลางคืน แต่เมื่อสั่งออกก็หมดไป แสดงว่าไม่ได้ป่วย แต่ถ้าน้ำมูกมีตลอดทั้งวัน สีข้นกว่าปกติ แสดงว่ามีอาการหวัด ถ้าเป็นหวัดธรรมดา (ไม่มีไข้) ประมาณ 2-3 วัน น้ำมูกก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ (ไม่ต้องใช้ยา แต่ต้องดูแลให้ถูกหลักด้วย เช่น ไม่ดื่มน้ำเย็น พักผ่อนมากๆ ทำร่างกายให้อบอุ่น) แต่ถ้าเป็นมากกว่า 10 วัน ต้องระวังเรื่องภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องรีบพาลูกไปหาหมอ เพราะอาจเรื้อรังเป็นโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้อีก

** แปลและดัดแปลงรูปจาก Blank Children's Hospital https://bit.ly/2IpsjYu

วิธีสอนลูกสั่งน้ำมูก
คุณแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ด้วยการใช้กระดาษทิชชู่ ดรูจมูกข้างหนึ่งแล้วหายใจออกดังฟิด ใช้ทิชชู่ที่เตรียมไว้เช็ด ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง โดยแรกๆ คุณแม่อาจจะเป็นคนกดรูจมูกให้ลูกก่อน และอย่าสั่งแรงจนเกินไป

ดูแลยามน้ำมูกไหล
* ใช้ ผ้านุ่มๆ เช็ดน้ำมูก ถ้ามีน้ำมูกมาก ทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก ควรใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูกออกมา (บางบ้านคุณแม่อาจใช้ปากตัวเองดูดน้ำมูกให้ลูก ซึ่งจะทำให้ลูกไม่เจ็บหรือระคายเคือง แต่ถ้าแม่สุขภาพไม่ดีนัก ต้องระวังเชื้อโรคติดต่อได้ง่ายมาก)
* งดการออกไปเล่นนอกบ้าน 2-3 วัน
* บางคนจะมีอาการหูอักเสบ (หวัดลงหู) หรือคออักเสบ (หวัดลงคอ) ตามมาด้วย ดังนั้นควรดูอาการอย่างใกล้ชิด
* ถ้า น้ำมูกแห้งติดโพรงจมูก ให้ใช้น้ำเกลือ 0.9 % ปริมาณ 1-2 ซี.ซี. (ใช้กระบอกฉีดยา) ค่อยหยดลงไปในรูจมูกทั้งสองข้าง แล้วใช้ลูกยางดูดออกมา
* เมื่อลูกอายุได้ 2-3 ขวบควรฝึกลูกสั่งน้ำมูกเอง เป็นการฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นและเป็นการให้ลูกรักษาสุขภาพอนามัยอีกด้วย
* ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ
* ทุบ หัวหอมห่อผ้า แล้ววางไว้ใต้หมอน หรือหยอดน้ำมันหอมระเหยที่บรรเทาอาการคัดจมูกบริเวณเสื้อผ้า หรือปลอกหมอน เพื่อให้ลูกสูดกลิ่น บรรเทาอาการคัดจมูกหายใจไม่ออกขณะนอน พร้อมทั้งใช้หมอนรองศีรษะให้สูงขึ้นกว่าปกติ

ห้ามทำเด็ดขาด
* เรา ไม่ควรซื้อยาลดน้ำมูกมาป้อนลูกเอง รวมถึงยาแก้ไอด้วย เพราะยาทั้งสองชนิดนี้ มีฤทธิ์ทำให้น้ำมูกและเสมหะแห้ง อาจทำให้เสมหะติดค้างในหลอดลม ไอออกมาไม่ได้ และการที่น้ำมูกไหล เป็นการขจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายด้วยวิธีธรรมชาติดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องกินยา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอรวมทั้งยาหยอดจมูกเพื่อทำให้จมูกโล่ง ด้วยเช่นกัน
* ไม่ ควรแคะจมูกให้ลูกด้วยนิ้วหรือเล็บ ให้ใช้กระดาษทิชชู่หรือผ้านุ่มๆ บางๆ พันปลายเขี่ยภายในโพรงจมูกเบาๆ เพื่อให้เด็กจามออกมา หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดรอบๆ รูจมูกเท่านั้นและต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรให้เด็กใช้ ไม้พันสำลีเอง

ที่มาจาก : Mother&Care

** สอบถาม เพิ่มเติม อุปกรณ์ ช่วยดูดน้ำมูกให้กับลูก กดติดต่อ Admin ด้านล่างได้ค่ะ  


 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้