10 อาการปกติในเด็กแรกเกิด (ตอนที่ 2)

Last updated: 29 มิ.ย. 2564  |  7935 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 อาการปกติในเด็กแรกเกิด (ตอนที่ 2)

10 อาการปกติในเด็กแรกเกิด (ตอนที่ 2)

อาการปกติในทารกแรกเกิดที่อาจจะดูไม่ปกติสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ซึ่งสามารถเกิดกับลูกได้หลากหลายอาการ เรามาเรียนรู้อาการปกติในเด็กแรกเกิดที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจน้อยลง และเรียนรู้วิธีการรับมือกับอาการเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

1. อาการปานแดงชนิดเรียบ พบบ่อยบริเวณหน้าผาก จมูก ปาก และท้ายทอยของทารก มีลักษณะเป็นรอยแดง เวลากดจะจางลง เห็นได้ชัดเมื่อลูกโดนอากาศร้อนจัด หรือร้องไห้หนักๆ ซึ่งปานแดงลักษณะนี้จะจางหายไปภายในระยะเวลาประมาณ 1 ปี

ปานแดงผิวเรียบในเด็ก

2. อาการตัวเหลือง แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ ทารกแรกเกิดที่กินนมแม่อย่างเดียวอาจจะตัวเหลือได้ เนื่องจากได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ควรตรวจหาค่าต่างๆ ในร่างกาย ถ้าเกินเกณฑ์ต้องส่องไฟร่วมด้วย ส่วนในเด็กที่อายุเกิน 1 เดือนไปแล้ว และยังกินนมแม่ล้วน อาจจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองได้นิดหน่อย แต่อุจจาระต้องเป็นสีเหลืองทอง มีน้ำหนักขึ้นดี ซึ่งจะหายได้เองภายในไม่เกินอายุ 4 เดือน

3. อาการร้องงอแงเวลาปัสสวะ ทารกมักจะร้องไห้เวลาหิว ง่วงนอน ปวดปัสสาวะ หรือถ่ายอุจจาระ โดยต้องไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะติดขัดกระปริบกระปรอย ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้เองเมื่อลูกโตขึ้น

4. อาการนมเป็นเต้า สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กหญิงและชาย อาจจะเกิดข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ บางคนมีน้ำนมไหลร่วมด้วย คุณแม่ไม่ควรไปบีบเค้น ซึ่งอาการนี้จะหายได้เองภายในเวลาประมาณ 6 เดือน

5. อาการไม่ถ่ายทุกวัน ทารกที่กินนมแม่ล้วนอาจจะไม่ถ่ายเลยในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ ก็เป็นได้ แต่ต้องไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องอืด อุจจาระต้องเป็นสีเหลือง ไม่เหนียว ไม่แข็งเป็นเม็ด เนื่องจากนมแม่ย่อยง่ายจึงไม่เหลือกากใยส่งมาหาลูก แนะนำให้คุณแม่กินอาหารที่มีไฟเบอร์ เพื่อลูกจะได้ขับถ่ายดีขึ้น ในกรณีที่ลูกกินนมผง ถ้าไม่ถ่ายเกิน 3 วัน แนะนำให้คุณแม่ลองเปลี่ยนยี่ห้อนมผง

6. อาการถ่ายอุจระบ่อย ทารกที่กินนมแม่ล้วนอาจจะถ่าย 10 รอบต่อวันก็ได้ แต่อุจจาระควรเป็นสีเหลือง มีฟองได้นิดหน่อย และต้องไม่มีมูกเลือดปน สาเหตุเกิดจากการที่ทารกกินแต่นมส่วนหน้าซึ่งมีน้ำตาลมาก แนะนำคุณแม่ควรให้ลูกกินนมให้เกลี้ยงเต้า

7. อาการตุ่มนูนขาวที่ใบหน้า ลักษณะตุ่มสีขาว หรือสีเทา ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มักจะขึ้นที่บริเวณหน้าผาก แก้ม ดั้งจมูก เพดานปาก หัวนม หรืออวัยวะเพศ และจะหายไปเองเมื่อลูกอายุประมาณ 2 เดือน ดูแลง่ายๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วเช็ดทำความสะอาดบ่อยครั้งเท่านั้น

8. อาการตุ่มขาวในปาก บริเวณที่พบบ่อย คือ เพดานแข็งในช่องปากด้านบนของทารก โดยต้องไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ซึ่งจะค่อยๆ หายไปได้เองโดยที่ไม่ต้องเช็ดทำความสะอาด เพียงดูแลตามปกติ

9. อาการลิ้นขาว เกิดจากทารกกินนมแม่ หรือนมผง คุณแม่ควรใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดทำความสะอาดในช่องปากบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้ม วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนในทารกที่กินนมผง ควรดื่มน้ำสะอาดตามเล็กน้อยหลังจากดื่มนม หากเกิดฝ้าขาวที่เช็ดไม่ออก หรือลูกมีอาการเจ็บร่วมด้วย อาจจะติดเชื้อรา ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ทารกลิ้นขาว
10. อาการมีติ่งเนื้อยื่นพ้นออกมานอกช่องคลอด เกิดจากฮอโมนเอสโตรเจนส่งผ่านรกจากคุณแม่มาสู่ลูก และยังมีตกค้างอยู่ในตัวทารก ส่งผลให้ช่องคลอดมีลักษณะเหมือนวัยสาว โดยอาจจะมีติ่งยื่น มีสีคล้ำ หรือมีเลือดประจำเดือนไหลออก ซึ่งจะหายไปเองประมาณ 1-2 เดือน คุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดลูกด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดจากบริเวณช่องคลอดไปทางก้น เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคจนเกิดอาการติดเชื้อได้

.............................................................

 เรียบเรียงเป็นบทความจาก Youtube คุณหมอ ปัณฑิตา หมอเด็กภูเก็ต Dr Panthita Phuket Pediatrician

ทางร้าน พุงกลม ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Source : 20 อาการปกติในเด็กแรกเกิด Twentieth Normal Newborn Symptoms (ตอนที่ 2)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้