วิธีกู้ชีพเบื้องต้น เมื่อลูกหยุดหายใจ

Last updated: 10 ส.ค. 2564  |  1485 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กู้ชีพลูก เบื้องต้น ลูกไม่หายใจ

วิธีกู้ชีพเบื้องต้น เมื่อลูกหยุดหายใจ

ปั๊มหัวใจเด็กเมื่อใด
ปั๊มหัวใจได้ในกรณีที่ลูกหัวใจหยุดเต้น หมดสติ ซึ่งเกิดได้จากอาการเจ็บป่วย เช่น โรคหัวใจ โรคลมชัก หรืออุบัติเหตุทั่วไป เช่น จมน้ำ ไฟฟ้าดูด อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น

ปั๊มหัวใจเด็กอย่างไร
1. ตรวจความปลอดภัยของสถานที่
2.หากปลุกลูกไม่ตื่น ให้สันนิษฐานเบื้องต้นก่อนว่า ลูกหัวใจหยุดเต้น
3.โทรเรียกรถฉุกเฉินทันทีที่เบอร์ 1669 แจ้งตำแหน่งที่เกิดเหตุ พร้อมตะโกนขอความช่วยเหลือ
4.ตรวจลมหายใจลูก โดยก้มหน้าลงไปแนบกับบริเวณจมูก ตรวจดูว่ามีลมอุ่นๆ มาประทะแก้มเราหรือไม่
5.ตรวจชีพจรบริเวณข้อพับแขน ภายใน 10 วินาที หากไม่พบชีพจรเต้นตุบๆ แปลว่า ลูกหัวใจหยุดเต้น

กู้ชีพด้วยการปั๊มหัวใจและเป่าปาก

1.       ในเด็กเล็กที่อายุไม่เกิน 1 ปี จับลูกนอนหงายบนพื้นราบในท่าเหยียดตรง
2.       ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดลงบริเวณกึ่งกลางหน้าอกลูก ตรงราวนม กดลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาหน้าอกลูก ด้วยอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที จำนวน 30 ครั้ง
3.       สลับมาเป่าปากโดยใช้ฝ่ามืออีกข้างกดหน้าผากลูก มืออีกข้างช้อนคางเพื่อประคองศีรษะ
4.       อ้าปากประกบปากลูก โดยครอบทั้งปากและจมูก
5.       เป่าปากนานครั้งละ 1 วินาที จำนวน 2 ครั้ง
6.       ปั๊มหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที
7.       ตรวจสอบชีพจรของลูกว่ากลับมาเต้นแล้วหรือไม่
8.       ทำซ้ำจนกว่าลูกจะกลับมามีสติ หรือจนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึงที่เกิดเหตุ

ในเด็กโตที่มีอายุ 1 ปี ขึ้นไป ให้เปลี่ยนเป็นใช้สันมือกดลงบริเวณกึ่งกลางหน้าอกลูก ตรงราวนม กดลึกประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาหน้าอกลูก ด้วยอัตราความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที จำนวน 30 ครั้ง โดยใช้ขั้นตอนเดียวกันกับเด็กเล็ก

 เรียบเรียงเป็นบทความจาก Youtube คุณหมอ ปัณฑิตา หมอเด็กภูเก็ต Dr Panthita Phuket Pediatrician

ทางร้าน พุงกลม ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

Source : https://bit.ly/3gq8M8O

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้